ใครว่าจิตใจนั้นไม่สำคัญ…
อาการทางกายส่งผลถึงจิตใจ
จิตใจที่ป่วย…ส่งผลต่อร่างกาย
จิตใจและร่างกายล้วนเป็นของคู่กัน
บางครั้งน้องๆเหรอท่านผู้อ่านอาจรู้สึกว่า
ร่างกายของตนไม่เหมือนเดิม รู้สึกว่าอวัยวะภายในทำงานไม่ปกติ
เราต้องป่วยแน่ๆไปพบแพทย์ดีกว่า “หมอช่วยผมด้วย”
หลังจากตรวจร่างกาย,เจาะเลือด, X-ray ทำการตรวจทุกอย่าง ไม่พบความผิดปกติทางกาย “คุณหมอต้องตรวจผิดแน่ๆ ไปตรวจหมออีกโรงพยาบาลดีกว่า” หากท่านผู้อ่านหรือสมาชิกภายในบ้านมีอาการเช่นนี้ ท่านอาจเป็นโรคนี้ได้ “โรคคิดไปเองว่าป่วย (Hypochondriasis)”
การสังเกตอาการว่าเป็นโรคนี้หรือไม่
หากสังเกตตัวเอง
และคนรอบข้างพบว่า มีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ให้รู้ไว้เลยว่า
มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีดค่อนข้างสูง
1. มีความคิด หรือหมกมุ่นอยู่กับความกลัวว่าตนเองจะป่วยด้วยโรคร้ายแรงอยู่ตลอดเวลา
2. ความรู้สึกกังวลไม่หายไป แม้จะได้รับการตรวจรักษาอย่างละเอียด
และได้รับการยืนยันจากแพทย์แล้วว่าไม่พบโรคนั้นแล้วก็ตาม
3. ความรู้สึกนี้ ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
การงานเริ่มบกพร่อง ญาติพี่น้องเอือมระอา มีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าสังคม
4. เป็นมานานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน และมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แต่อย่างไรก็ตามคนไข้ที่มาพบหมอด้วยอาการดังกล่าว
อาจไม่ได้เป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีดทุกคน ซึ่งก่อนที่เราจะสรุปว่าเขาเป็นโรคนี้หรือไม่
เราต้องมีการวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุก่อน โดยมีแนวทางวินิจฉัยสองขั้นตอนคือ
1. วินิจฉัยแยกโรคทางกาย
ก่อนเราจะเหมาว่าคนไข้เป็นโรคทางจิตเวช
เราต้องแยกโรคทางกายออกมาให้ได้
เพราะหากคนไข้เป็นโรคทางกายจริงๆแล้วแพทย์บอกว่าเป็นโรคทางจิต
ผู้ป่วยอาจเสียโอกาสที่จะหายจากโรคไปเลย เช่นหากผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง มะเร็งนั้นมีโอกาสรักษาให้หายได้หากเจอแต่ระยะแรก
"ปกติคนไข้พวกนี้จะยินดีให้ความร่วมมือ เพราะเขาเองชอบมาโรงพยาบาลอยู่แล้ว จนเมื่อตรวจอย่างละเอียดแล้วไม่พบว่าป่วยเป็นโรคอะไร ก็จะนำผู้ป่วยเข้าสู่การตรวจวินิจฉัยทางจิตเวชเป็นลำดับต่อไป"
"ปกติคนไข้พวกนี้จะยินดีให้ความร่วมมือ เพราะเขาเองชอบมาโรงพยาบาลอยู่แล้ว จนเมื่อตรวจอย่างละเอียดแล้วไม่พบว่าป่วยเป็นโรคอะไร ก็จะนำผู้ป่วยเข้าสู่การตรวจวินิจฉัยทางจิตเวชเป็นลำดับต่อไป"
2. วินิจฉัยโรคทางจิตเวชอื่น
ๆ
บางทีคนไข้ที่มาหาหมอ
อาจเป็นโรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคไฮโปคอนดิเอซีด อาจเป็นโรคซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล
รวมถึงโรคจิตเภทชนิดอื่น ๆ ซึ่งสามารถ รักษาได้โดยการใช้ยา
แต่เมื่อตรวจจนแน่ใจแล้วว่า คนไข้ไม่ได้ป่วยด้วยโรคจิตเวชชนิดอื่น ๆ
อย่างที่กล่าวมา เราจึงวินิจฉัยว่า คนไข้ป่วยเป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีด
ซึ่งโรคนี้รักษาไม่หาย
เหตุผลที่โรคนี้รักษาไม่หาย
เป็นเพราะคนไข้ไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วยเป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีด
แต่คิดว่าตัวเองป่วยด้วยโรคทางกายอื่นๆ จึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษา
นอกจากนี้คนที่เป็นโรคไฮโปคอนดิเอซีดมักมีการตอบสนองต่อการใช้ยาไม่ค่อยดี
เนื่องจากเขาไม่ยอมรับ อย่างคนไข้บางคนที่เป็นโรคนี้ และมีความรู้มาก ศึกษามาเยอะ
ก็จะต่อต้านการรักษาของหมอ
สาเหตุ
1. เกิดจากการแปลความรู้สึกของร่างกายผิด
เมื่อมีความผิดปกติของการทำงานในร่างกายเกิดขึ้น
คนไข้กลุ่มนี้มักแปลความหมายของความผิดปกตินั้นร้ายแรงมากกว่าคนทั่วไป
รวมไปถึงมีความอดทนต่อความรู้สึกไม่ปกติของร่างกายต่ำกว่าคนปกติ
2. เกิดจากการใช้บทบาทของผู้ป่วย
(Sick role) เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาหรือสถานการณ์ที่แก้ไขไม่ได้
ผู้ป่วยจะเรียนรู้ที่จะใช้บทบาทผู้ป่วยเพื่อเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นั้นๆ เช่น มีกำหนดส่งงานตอนบ่ายโมงแต่ทำไม่ทันจึงปวดท้องกระทันหันเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้นเป็นต้น
3. เกิดจากโรคแทรกซ้อนทางจิตวิทยาอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า เครียด โรคกังวลไปทั่ว แต่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว จึงแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองออกมาไม่ถูก และคิดว่าตัวเองป่วย
4. เกิดจากความกดดันบางอย่าง เชื่อว่าผู้ป่วยขาดความภูมิใจในตนเอง และรู้สึกว่าไม่ได้รับการยอมรับ มีความผิดหวัง จึงใช้กลไกทางจิตชนิดที่เรียกว่าเก็บกด แสดงออกมาเป็นอาการผิดปกติทางกาย เพื่อปกปิดสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ
การรักษา
แนวทางในการรักษาของแพทย์ที่ใช้รักษาโรคโรคไฮโปคอนดิเอซีดในปัจจุบันคือ
การรักษาแบบจิตบำบัด โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยเป็นหลัก
เพื่อให้เขาสามารถปรับตัว ใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณภาพ และเหมาะสม
ไม่หมกมุ่นอยู่กับความคิดของตัวเองจนมากเกินไป
ความเป็นจริงแล้ว
พวกเขาไม่จำเป็นต้องมาพบจิตแพทย์ก็ได้
แต่แค่ให้มีหมอสักคนคือหมอเวชปฏิบัติทั่วไปก็ได้
คอยรับฟังเขาพูดเรื่องความป่วยไข้อย่างน้อยเดือนละครั้ง
และคอยปรามเวลาเขาจะขอตรวจพิเศษต่างๆที่ไม่จำเป็น
คล้ายกับว่าพยายามใส่ใจในอาการป่วยของเขา อาการของคนไข้ก็จะทรงตัวไม่ป่วยด้วยโรคอื่นๆเพิ่ม
สิ่งสำคัญที่ญาติๆผู้ป่วยควรทำความเข้าใจคือ
ต้องพยายามเปลี่ยนทัศนคติ จากความรู้สึกรำคาญมาเป็นสงสารแทน
เปลี่ยนจากโทสะมาเป็นเมตตา ต้องคิดอยู่ตลอดว่าเขาป่วย เขาต้องการเรา
การดูแลผู้ป่วย
- ปลูกต้นไม้ การได้เห็นสีเขียวของต้นไม้จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และอารมณ์ดีขึ้น
- อ่านหนังสือ เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือตลก นิยายที่เนื้อหาไม่หนักเกินไปนัก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ได้ความเพลิดเพลินแล้วยังได้ความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย
- หาโอกาสไปเที่ยว การได้ไปเปลี่ยนบรรยากาศในสถานที่ใหม่ ๆ สามารถลดความวิตกกังวลที่จากเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวันที่ตกตะกอนอยู่ในใจ ได้ เช่น ไปทะเล ภูเขา น้ำตก เป็นต้น
- ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว การพูดคุยปรึกษาหารือ ทานอาหารร่วมกัน ก็สามารถช่วยให้ความตึงเครียด วิตกกังวล และโรคซึมเศร้าที่เป็นอยู่ทุเลาลงได้
"โรคจิตเภทส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้โดยการทำความเข้าใจกับตนเอง
คือ เราต้องมีความหยั่งรู้ในอารมณ์ของตัวเอง เช่น
รู้ว่าเวลานี้ตัวเองวิตกกังวลไม่สบายใจ ก็บอกว่าตัวเองวิตกกังวล ไม่โกหกตัวเอง
ยิ่งถ้าเรามีความหยั่งรู้ในตัวเอง และรู้จักปรึกษาคนรอบข้างเวลามีปัญหาอย่าเก็บปัญหาไว้กับตัวคนเดียว
เราก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตเวชน้อยลง"
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล: http://th.wikipedia.org , หนังสือจิตเวชศาสตร์รามาธิบดี
เรื่องโดย ~หมูสนาม~
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล: http://th.wikipedia.org , หนังสือจิตเวชศาสตร์รามาธิบดี
เรื่องโดย ~หมูสนาม~
คำเตือน
บทความนี้ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์แล้วหากผู้ใดคัดลอกโดยไม่อ้างอิงที่มา จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ทางปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ยินดีให้คำปรึกษา ด้วยบริการที่ดี จริงใจ เป็นกันเอง
สงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้เลยครับ
==== ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องการ ====
อายุ เพศ ของผู้เอาประกัน
โรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วย
แผนประกันที่ต้องการ เช่น ต้องการแผนประกันที่มีค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน