หลายครั้งแล้ว..... ที่หมอแบงค์ได้ยินคนเขาพูดกันในเน็ต
..... เหรอวงสนทนาต่างๆ ว่า
“มศว มี คณะแพทย์ด้วยเหรอ?”
“ลูกของเธอจบหมอจากไหนมานะ…. มศว ไม่เห็นรู้จักเลย -_-“ ”
พอได้ยินดังนั้นก็รู้สึกเหมือนมีมีด
ดาบมาปักอยู่กลางอก ทำไมถึงรู้สึกแบบนั้นเหรอครับ นั้นเป็นเพราะว่าแม้ในตอนนี้หมอแบงค์จะไม่ได้สวมเสื้อกาวน์ที่มีตราของคณะแพทย์
มศว แล้ว หมอแบงค์ก็ไม่สามารถลืมรางเหง้าของผู้ให้กำเนิดได้หรอก
วันนี้จึงขออาสามาแนะนำคณะแพทย์ มศว หนึ่งในคณะแพทย์ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานให้ท่านผู้อ่านฟัง....
ชื่อคณะ ภาษาไทย :: คณะเเพทยศาสตร์
ชื่อคณะ ภาษาอังกฤษ :: Faculty of Medicine
สถานที่เรียน :: ปี 1มศว องครักษ์ ปี 2-3 มศว ประสานมิตร และ ปี 4-6 กลับมาที่องครักษ์ ณ รพ.ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพครับ
สีประจำคณะ: สีเขียว
ประวัติความเป็นมา
โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตรงกับรัฐบาลของ ฯพณฯ องคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
และได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนพ.ศ. 2528
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของประเทศเกิดขึ้นจากความร่วมมือประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกับกรุงเทพมหานคร โดยให้โรงพยาบาลวชิรพยาบาลเป็นฐานการศึกษาระยะคลินิก
(ชั้นปีที่ 4-6) ยึดนโยบายประหยัดงบประมาณแผ่นดิน
นำทรัพยากรทั้งบุคคล วัตถุ และองค์กรที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีอยู่แล้ว เป็นสถาบันสมทบเพื่อจัดการเรียนการสอน
ส่งผลให้นิสิตแพทย์ได้รับประสบการณ์หลากหลายและกว้างขวางเป็นอย่างมาก
ในปี พ.ศ. 2535 ทางคณะแพทยศาสตร์ร่วมกับทาง มหาวิทยาลัยได้เห็นพ้องกันที่จะมีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง
เพื่อรองรับการขยายตัวของคณะแพทยศาสตร์ และนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
โดยเริ่มโครงการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบสามรอบ
ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้สร้างศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีขึ้นบนเนื้อที่ 250 ไร่
ในบริเวณพื้นที่ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
โดยอาคารหลังแรกของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีนี้เป็นอาคารโรงพยาบาล 500 เตียง มี 17
ชั้น พื้นที่ 60,000 ตารางเมตร
ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2542 และเริ่มเปิดบริการรักษาผู้ป่วยแยก OPD เมื่อเดือนมกราคม
2543 โดยมีพนักงานศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี จำนวน 268 คน
โครงสร้างการบริหารของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เป็นหน่วยงานหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มีการบริหารที่อิสระและพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกอบด้วยภาควิชา 17 ภาควิชา ได้แก่
|
|
ซึ่ง 6 ภาควิชาแรกเป็นภาควิชาพรีคลินิก
โดยมีฐานการปฏิบัติงานและฐานการเรียนการสอนอยู่ที่
อาคารเรียนรวมพรีคลินิกและวิทยาศาสตร์ (ตึก 15) และ
อาคารกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
กรุงเทพมหานคร
และอีก 11 ภาควิชาเป็นภาควิชาคลินิก
มีฐานการปฏิบัติงานและฐานการเรียนการสอนอยู่ที่
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ อำเภอองครักษ์
จังหวัดนครนายก
แผนที่และเส้นทางการเดินทาง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นี่คือภาพด้านหน้าทางเข้ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิดรฒ องค์รักษ์
ส่วนภาพนี้คือโรงพยาบาลอันน่าภาคภูมิใจของเรา “ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ฯ สยามบรมราชกุมารี” ศูนย์การแพทย์แห่งนี้
เริ่มโครงการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีเจริญพระชนมายุ
และก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2542 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2544 โดยมีวัตถุประสงค์คือเป็นสถาบันในการจัดการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์และนิสิตคณะอื่นๆ
ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นแหล่งวิจัยที่มีคุณภาพ
โดยเฉพาะการวิจัยในทางคลินิค ซึ่งมีพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุมทั้งสิ้น 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้วฉะเชิงเทรา ปทุมธานี และชลบุรี
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ
เป็นโรงพยาบาลขนาด 360 เตียง พื้นที่ทั้งสิ้น 58,595 ตารางเมตร
โดยได้เปิดบริการรักษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ปัจจุบันเปิดบริการทั้งสิ้น 11
สาขา คือ สาขาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา, สาขากุมารเวชศาสตร์,
สาขาอายุรศาสตร์, สาขาศัลยศาสตร์, สาขาศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์, สาขาทันตกรรม, สาขารังสีวิทยา, สาขาโสต ศอ นาสิก, สาขาจักษุ, สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู และสาขาจิตเวชศาสตร์
ในตอนแรก ทางโรงพยาบาลได้เปิดรับรักษาผู้ป่วยในจำนวน 30 เตียง
จนได้ขยายศักยภาพการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามลำดับ
เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของผู้รับบริการที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันสามารถรับรักษาผู้ป่วยในได้ทั้งสิ้น 360 เตียง และ
กำลังเพิ่ม เป็น 500 เตียงในอนาคต
Credit: http://th.wikipedia.org