วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

Intern - Extern - Resident - Fellow โอ้ย!! มันคือกันแน่นะ ?


เรื่องนี้เริ่มจากที่มีน้องคนหนึ่งส่งคำถามมาถามใน MSN ของหมอแบงค์ว่า

             
 Q: พี่ค่ะๆ ช่วยบอกหน่อยค่ะ ว่า คำว่า Extern,Intern หมายถึงอะไรเหรอค่ะ หนูงงมากเลย >_< ?

              หมอแบงค์ : มีคนถามคำถามนี้กับพี่หลายคนมากเลย เอ๋...ว่าแต่ พี่บอกว่าถ้ามีอะไรสงสัยให้ถามมาในเวปไม่ใช่เหรอครับ เพื่อนๆคนอื่นจะได้รู้ด้วย ไว้มีคำถามเร่งด่วนจริงๆค่อยมาถามโดยตรง อ๊ะๆ หรือว่า...ใช่อย่างที่พี่คิดไหมนะ ...มาถามแบบนี้คล้ายคำถามคัดเลือกเข้าสมัครงานค่ายสู่ฝันวันเป็นหมอเลยนะเนี้ย 55

              Q: หง่ะ ใช่แล้วค่ะ >_<

              
หมอแบงค์: 55 โอเคไม่ว่ากัน พี่จะได้โอกาสมาพูดถึงเรื่องนี้ให้น้องคนอื่นๆฟังซะเลย

             
 Q: เย้!! ขอบคุณค่ะ


   เอาล่ะวันนี้หมอแบงค์จะมาพูดเรื่องนิยามคำศัพท์เฉพาะ (Definition) กันนะครับ :-)

คำแรกที่จะพูดถึงคือ

                 นิสิตแพทย์ชั้นพรีคลีนิก(Pre-clinic) หมายถึงอะไร คำตอบนี้ง่ายมากครับ ถ้าเรารู้หลักการสร้างคำของภาษาอังกฤษ คำว่า Pre-clinic ประกอบด้วย Prefix คือคำว่า Pre แปลว่าก่อน และ Suffix คือคำว่า Clinic แปลตรงๆว่า คลินิก เมื่อเอามารวมกัน Pre-clinic แปลว่า ก่อนชั้นคลีนิก นั้นก็หมายถึงนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ,2 และ 3 ซึ่งยังไม่ขึ้นชั้นคลินิกนั้นเองครับ

              การแต่งกายของนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลีนิกก็แต่งกายลักษณะเดียวกับชุดนักศึกษาทั่วๆไป




                 นิสิตแพทย์ชั้นคลีนิก(Clinic) หมายถึง นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 , 5 และ 6 ที่เรียนในระดับชั้นคลีนิกแล้ว คือมีการเรียนการสอนที่โรงพยาบาล และไปพบกับคนไข้จริงๆครับ ช่วงขึ้นชั้นคลินิกเป็นช่วงที่ตื่นเต้นที่สุดครับ น้องๆจะได้เปลี่ยนจากชุดนักศึกษาธรรมดาเป็นเสื้อกาวน์(ชุดหมอ)ครับ ซึ่งชุดของปีสี่กับปีห้ามีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย คือปีสี่จะสวมเสื้อกาวน์ยาว ปีห้าจะสวมเสื้อกาวน์สั้น
ใส่ พี่หมอ

       Extern คืออะไร Extern มีคำแปลเป็นภาษาไทยสวยหรูว่า "นิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ" ซึ่งก็คือนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 อันเป็นช่วงปีการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ขั้นต้นในประเทศไทย
ความแตกต่างของ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 กับ Extern ของนิสิตแพทย์ มศว  มีอยู่ 2 อย่างคือ
                1. ชุดต่างกัน(เล็กน้อย)โดยนิสิตแพทย์ มศว แต่งกายเป็นชุดกาวน์สั้นสีขาว ส่วน Extern ก็เป็นชุดกาวน์สั้นสีขาวเหมือนกันแต่มีเพิ่มแถบสีเขียวยาวที่กระเป๋าเสื้อหนึ่งแถบ ว่าไปก็เหมือนแถบพลังชีวิตในเกมส์ต่อสู้เลย 55
พี่หมอ


                 2. ทุกสิ่งเคยที่ทำไม่ได้ในเมื่อวาน หรือเมื่อคืน ต้องทำได้ทุกอย่างหลังได้แถบพลังเขียว เหมือนเป็นเงาตามตัวที่สลัดยังไงก็ยังมีอยู่ ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เช่น ถ้าเมื่อวานพี่ยังเจาะเลือด ยังเจาะท้อง ยังเจาะปอด หรือยังใส่ท่อช่วยหายใจไม่เป็นเลย พอวันรุ่งขึ้นติดแถบเขียวแล้ว สิ่งที่ทำไม่ได้เมื่อวาน ....ต้องทำได้ทุกอย่าง (นี่คือสิ่งที่ Externถูกคาดหวังไว้ล่วงหน้า)  

                 ตามหลักการแล้วนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติมีหน้าที่รับดูแลผู้ป่วยทุกคน พี่ขอเน้นย้ำว่า "ทุกคน" ที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาล โดย Extern นั้นไม่สามารถสั่งการรักษาได้โดยตรง เพราะจะต้องอยู่ในความควบคุมของอาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์ใช้ทุนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งตามปกติแล้วหน้าที่ที่สำคัญมากของนิสิตแพทย์เวชปฏิบัติคือ การบันทึกและเขียนคำสั่งรักษาลงในเวชระเบียนของผู้ป่วย โดยมีแพทย์ที่คอยดูแลดังที่กล่าวไปแล้วลงชื่อกำกับอีกที
             นิสิตแพทย์เวชปฏิบัติ จะต้องฝึกหัตถการทุกอย่างตามที่ถูกระบุไว้ในเกณฑ์ของแพทยสภา อาทิเช่น การเจาะน้ำในท้องหรือน้ำในไขสันหลังไปตรวจ การเย็บแผล การใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น ซึ่งช่วงนี้บางคนอาจจะได้เริ่มทำสิ่งต่างๆที่กล่าวไปเป็นครั้งแรกก็ตอนนี้หล่ะครับ - -" อาจมีงงๆ ดูขลุกขลักไปบ้าง แต่หมอที่เก่ง ก็ต้องผ่านการฝึกฝนทั้งนั้น เราไม่ใช่เทวดาที่เกิดมาแล้วทำทุกอย่างเป็นเลย
                 พูดมาตั้งนานแล้ว พี่ขอกล่าวโดยสรุป Extern ก็คือแพทย์ฝึกหัด (เอาทุกอย่างที่ร่ำเรียนมาตลอด 5 ปี ที่ผ่านมาใช้ทำจริง เจ็บจริง ไม่มีสลิง ไม่มีตัวแสดงแทน มีแต่อาจารย์เข้าคุกแทนถ้าเกิดเราทำอะไรผิดไป------>ดังนั้นนี่คือหนึ่งในสาเหตุของความคาดหวังที่พูดไปในตอนแรก 55 ล้อเล่นจริงๆก็คือ อาจารย์ทุกคนหวังว่าเราจะจบไปเป็นหมอที่ดี มีความรู้ ช่วยเหลือคนไข้ได้ต่างหาก)
แต่พี่ว่านะ "Extern" น่าจะย่อมาจาก
               EX traordinary พิเศษมากๆ
                   T ired             รู้สึกเหนื่อย  
                    E xperience   ประสบการณ์
               R eally              จริงๆ
               N ightmare     ฝันร้าย
                  "สุดยอดประสบการณ์ความเหน็ดเหนื่อย  ดุจฝันร้าย"

55 ล้อเล่นจริงๆแล้วมันน่ามีความหมายที่ดีกว่านี้ คือ
              EX pected ถูกคาดหวัง
              T o  เพื่อ
              E liminate and  กำจัดและ
                 R elieve  บรรเทา
              N ervous of every patient  ความวิตกกังวลของผู้ป่วยทุกคน
                "ผู้ที่ซึ่งถูกคาดหวังเพื่อกำจัดและบรรเทาความวิตกกังวลของคนไข้ทุกคน"

เอาล่ะเรามาเริ่ม นิยามคำศัพท์คำต่อไปเลย

             Intern หมายถึง แพทย์ใช้ทุนคือขั้นต่อไปของ Extern นั้นเอง หลังจากจบหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณทิตที่เรียนทั้งหมด 6 ปี และสอบผ่านการสอบประเมินความรู้ความสามารถทางเวชกรรมที่มีอยู่ทั้งหมด 3 ครั้ง จนได้ใบประกอบวิชาชีพจากแพทยสภาแล้ว ก็ต้องออกไปชั้นทุนยังต่างจังหวัดเป็นระยะเวลา 3 ปีเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะ หรือบางคนได้เรียนต่อ fixed ward ใน รร.แพทย์ต่างๆต่อ แพทย์พวกนี้ก็คือแพทย์จบใหม่ ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่า แพทย์เพิ่มพูนทักษะ Internของ มศว ต่างกับ Extern ตรงที่มีแถบพลังสองขีด เหมือนมีการอัฟเกรดตัวเองขึ้นไปอีก
พี่หมอ

         Resident หมายถึง แพทย์ประจำบ้าน ซึ่งก็คือแพทย์ที่เข้ามาศึกษาต่อเพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาใดสาขาหนึ่ง ระยะเวลาแล้วแต่สาขาวิชา เช่น อายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ สูตินรีเวชศาสตร์จะใช้เวลา 3 ปี บางสาขา ปี เช่น ศัลยศาสตร์ เป็นต้น การสมัครเรียนต่อโดยการเป็นแพทย์ประจำบ้านต้องสมัครผ่านแพทยสภา และเมื่อจบการศึกษาจะได้วุฒิบัตรผู้ชำนาญการในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสาขาต่างๆของแพทยสภา
          Fellow หมายถึง แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ ซึ่งก็คือแพทย์ที่จบสาขาเฉพาะทางแล้วยังต้องการเป็นแพทย์เฉพาะทางอนุสาขาย่อยลงไปอีก เช่น เป็นอายุรแพทย์แล้วก็ไปต่อเป็น อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด เป็นต้น ใช้เวลา 2-3 ปีแล้วแต่สาขา เมื่อจบแล้วก็จะได้วุฒิบัตรผู้ชำนาญการชั้นสูงในสาขานั้นๆ
          Staff หมายถึง อาจารย์แพทย์
            พี่ขอจบนิยามคำศัพท์เฉาะแต่เพียงเท่านี้ ก่อนลาจากกัน พี่มีรูปขำๆ เกี่ยวกับห่วงโซ่อาหารของนักเรียนแพทย์มาฝาก ให้ท่านผู้อ่านดูครับ


นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4-5 ----->Extern---->Intern---->Resident------>fellow--->Staff

พี่หมอ
คำเตือน
บทความนี้ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์แล้วหากผู้ใดคัดลอกโดยไม่อ้างอิงที่มา จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ทางปัญญา